|
สภาพทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
ตำบลบ้านมาง เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเชียงม่วน ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานประมาณสามร้อยกว่าปี มีคนพื้นเมืองตั้งรกรากอยู่ทิศใต้วัดศรีเมืองมาง อพยพมาจากจังหวัดน่านและชนเผ่าไทลื้ออพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาประเทศจีน เขตตำบลบ้านมาง ก่อนแบ่งการปกครองขึ้นกับตำบลเชียงม่วน อำเภอบ้านม่วง (อำเภอปงในปัจจุบัน) จังหวัดน่าน และในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ขึ้นกับ จังหวัดเชียงราย ต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติ จัดตั้งจังหวัดพะเยา จึงขึ้นตรงต่อจังหวัดพะเยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประกาศเขตปกครองเป็นอำเภอเชียงม่วน
“องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง” ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เป็นต้นมา และใช้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตตำบลบ้านมาง
เว็บไซด์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง www.banmanglocal.com
โทรศัพท์ ๐๕๔-๔๙๕๓๓๓
- สำนักปลัดฯ
- กองคลัง
- กองช่าง
โทรสาร ๐๕๔-๔๙๕๓๓๓
เนื้อที่และอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๗๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ๑๐๖,๘๗๕ ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนประมาณ ๓ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลสระ
ทิศใต้ ติดต่อตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลเชียงม่วน
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
แผนที่ตำบลบ้านมาง
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง และมีที่ราบหุบเขาบางส่วน
ด้านการเมือง/การปกครอง
ตำบลบ้านมางประกอบด้วย ๑๑ หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาล ๒ หมู่บ้าน อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ๙ หมู่บ้าน ประกอบด้วย จำนวนหมู่บ้าน ๙ หมู่บ้าน
ชื่อหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน |
หมายเหตุ |
||
3 |
บ้านหนองหมู |
นายสังเวียน |
จันตา |
09-2814-5456 |
|
4 |
บ้านป่าแขม |
นายขจร |
มูลศรี |
080-1279157 |
|
5 |
บ้านทุ่งมอก |
นายธเนศ |
บรรจง |
09-5451-7993 |
|
6 |
บ้านบ่อเบี้ย |
นายเกมส์ชัย |
ชุมภูชนะภัย |
095-4519306 |
|
7 |
บ้านหนองกลาง |
นายเสวียน |
ดอนแก้ว |
0899531980 |
|
8 |
บ้านป่าแขมเหนือ |
นายสมควร |
มูลศรี |
086-1981257 |
|
9 |
บ้านบ่อตอง |
นายยงยุทธ |
พอใจ |
08-4740-6651 |
|
10 |
บ้านบ่อต้นสัก |
นายศิริชัย |
แซ่โฟ่ง |
081-0644142 |
|
11 |
บ้านทุ่งเจริญ |
นายเกษมสันต์ |
ช่างสาร |
0848076392 |
องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้
1) สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบล ในแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 1๘ คน
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความเห็นชอบของแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร กิจการของ องค์การบริหารส่วนตำบล
(2)พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3)ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
2) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการและองค์การบริหารส่วนตำบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมายได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่ง ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ แลข้อบังคับของทางราชการ
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารงานทั่วไป งานธุรการ งานพิมพ์ดีด งานการเจ้าหน้าที่ งานสวัสดิการ งานการประชุม งานเกี่ยวกับการตราข้อบังคับตำบล งานนิติการงานการพาณิชย์ งานประชาสัมพันธ์ งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล งานจัดทำข้อบังคับงบประมาณประจำปี งานขออนุมัติดำเนินการตามข้อบังคับ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
2. กองคลัง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การตรวจเงิน การหักภาษีเงินได้และการนำส่งภาษี งานเกี่ยวกับการตัดโอนเงินเดือน งานรายงานเงินคงเหลือประจำวัน งานขออนุมัติเบิกตัดปี และขอขยายเวลาเบิกจ่ายงานการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งานทรัพย์สิน งานหนี้สิน งบโครงการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
3. กองช่าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ถนน อาคาร และ สะพาน แหล่งน้ำ ฯลฯ งานการประเมินค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานก่อสร้าง และซ่อมบำรุงอาคาร แหล่งน้ำ งานควบคุมการก่อสร้าง งานที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
ประชากร
จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน ข้อมูล ณ เดือน เมษายน ๒๕๕9 (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา)
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ปีที่ตั้งหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
3 |
บ้านหนองหมู |
๒๕๑๓ |
88 |
105 |
114 |
219 |
4 |
บ้านป่าแขม |
๒๕๐๐ |
188 |
211 |
231 |
442 |
5 |
บ้านทุ่งมอก |
๒๔๗๐ |
200 |
245 |
269 |
514 |
6 |
บ้านบ่อเบี้ย |
๒๕๐๕ |
358 |
427 |
422 |
849 |
7 |
บ้านหนองกลาง |
๒๕๒๒ |
69 |
58 |
60 |
118 |
8 |
บ้านป่าแขมเหนือ |
๒๕๒๒ |
126 |
176 |
178 |
354 |
9 |
บ้านบ่อตอง |
๒๕๒๔ |
172 |
219 |
211 |
430 |
10 |
บ้านบ่อต้นสัก |
๒๕๓๙ |
90 |
216 |
195 |
411 |
11 |
บ้านทุ่งเจริญ |
๒๕๔๑ |
169 |
217 |
244 |
461 |
รวม |
1,460 |
1,874 |
1,924 |
3,798 |
ประชากรทั้งสิ้นจำนวน 3,798 คน แยกเป็น ชายจำนวน 1,874 คน หญิงจำนวน 1,924 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 22 คน/ตารางกิโลเมตร
- อยู่ในเขตเทศบาลเต็มพื้นที่ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านมาง หมู่ที่ 1 และบ้านแพทย์ หมู่ที่ 2
- จำนวนหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วนจำนวน 1 หมู่บ้านได้แก่ บ้านหนองกลาง
หมู่ที่ 7
สภาพทางสังคม
ท้องถิ่นอื่นในอำเภอ
- เทศบาล 1 แห่ง (เทศบาลตำบลเชียงม่วน )
- องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง ( องค์การบริหารส่วนตำบลสระ)
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนวัดป่าแขมวิทยา)
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 9 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล 1 แห่ง
ข้อมูลจำนวนเด็กนักเรียนปีการศึกษา 2559 แต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
|
จำนวนนักเรียนทั้งหมด (คน) |
จำนวนนักเรียนที่ได้รับอาหารเสริมนมระดับก่อนวัยเรียน |
คิดเป็น ร้อยละ |
จำนวนนักเรียนทั้งหมด (คน) |
จำนวนนักเรียนที่ได้รับอาหารกลางวันระดับก่อนวัยเรียน |
คิดเป็นร้อยละ |
- ศูนย์บ้านทุ่งมอก - ศูนย์บ้านบ่อเบี้ย - ศูนย์วัดบ้านป่าแขม |
๒๓ ๒๙ ๑๐ |
๒๓ ๒๙ ๑๐ |
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ |
๒๓ ๒๙ ๑๐ |
๒๓ ๒๙ ๑๐ |
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ |
รวม |
๖๒ |
๖๒ |
ร้อยละ ๑๐๐ |
๖๒ |
๖๒ |
ร้อยละ ๑๐๐ |
หมายเหตุ จำนวนนักเรียนทั้งหมดมีอายุ ๒-๕ ปี
ข้อมูลจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๙ แต่ละโรงเรียนในเขต อบต.บ้านมาง
โรงเรียน |
จำนวนนักเรียนอนุบาล-ป.๖/ (ระดับมัธยม) |
จำนวนนักเรียน ที่ได้รับอาหาร เสริมนม อนุบาล- ป.๖ |
คิดเป็น ร้อยละ |
จำนวนนักเรียนทั้งหมด (คน) |
จำนวนนักเรียน ที่ได้รับอาหารกลางวัน อนุบาล – ป.๖ |
คิดเป็นร้อยละ |
โรงเรียน ในพื้นที่บริการ ร.ร.บ้านป่าแขม ร.ร.บ้านทุ่งมอก ร.ร.บ้านบ่อเบี้ย(ประถม )
|
๑๐ ๗๐ ๗๙ |
๑๐ ๗๐ ๗๙ |
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ |
๑๐ ๗๐ ๗๙ |
๑๐ ๗๐ ๗๙ |
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ |
รวม |
๑๕๙ |
๑๕๙ |
ร้อยละ ๑๐๐ |
๑๕๙ |
๑๕๙ |
ร้อยละ ๑๐๐ |
ข้อมูล ณ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
หมู่ที่/บ้าน |
ระยะทางจากอำเภอ - หมู่บ้าน |
สภาพถนน |
ม.๓ บ้านหนองหมู ม.๔ บ้านป่าแขมใต้ ม.๕ บ้านทุ่งมอก ม.๖ บ้านบ่อเบี้ย ม.๗ บ้านหนองกลาง ม.๘ บ้านป่าแขมเหนือ ม.๙ บ้านบ่อตอง ม.๑๐ บ้านบ่อต้นสัก ม.๑๑ บ้านทุ่งเจริญ |
๓ กม. ๔ กม. ๕ กม. ๒๗ กม. ๖ กม. ๔.๕ กม. ๗ กม. ๓๐ กม. ๕ กม. |
ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง ลาดยาง |
- มีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๑ ถนนสายหลัก
การไฟฟ้า
จำนวนหมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ทุกหมู่บ้านและทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้
ระบบเศรษฐกิจ
ด้านอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำสวนผลไม้ เช่น ลำไย มะม่วง มะขาม รับจ้างทั่วไป และค้าขาย
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- ร้านค้า ๒๘ แห่ง
- โรงสี ๓ แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน ๓ แห่ง (ปั๊มหลอด ๑ แห่ง,หยอดเหรียญ ๑ แห่ง)
- โรงงาน ๒ แห่ง
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
ลำดับที่ |
กลุ่มอาชีพ |
กลุ่มออมทรัพย์ |
กลุ่ม อบต. |
๑. |
กลุ่มเขยต่างบ้าน หมู่ที่ ๔ |
๑. สถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งมอก |
๑. กลุ่มกองทุนสวัสดิการ อบต. |
๒. |
กล่มทอผ้าบ้านทุ่งมอก หมู่ที่ ๕ |
๒. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ๙ หมู่บ้าน |
๒. กองทุนสวัสดิการชุมชน |
๓. |
กลุ่มส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์บ้านทุ่งมอกหมู่ ๕ |
|
๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพ |
๔. |
กลุ่มส่งเสริมเกษตรชุมชนบ้านบ่อเบี้ย หมู่ ๖ |
|
|
๕. |
กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดบ้านหนองกลาง หมู่ ๗ |
|
|
๖. |
กลุ่มปลูกข้าวโพดบ้านบ่อตอง หมู่ ๙ |
|
|
๗. |
กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ ๙ |
|
|
๘. |
กลุ่มกองทุนการปลูกพืชผลทางการเกษตร |
|
|
๙. |
บ้านบ่อต้นสัก หมู่ ๑๐ |
|
|
๑๐. |
กลุ่มปลูกยางพาราบ้านทุ่งเจริญ หมู่ ๑๑ |
|
|
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลด้านการเกษตร
ลำดับที่ |
ประเภทของการทำการเกษตร |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนไร่ |
หมายเหตุ |
1. |
ทำนา |
619 |
3,598 |
|
2. |
ทำสวน |
|
|
|
|
- สวนลำไย |
240 |
2,429 |
|
|
- สวนยางพารา |
50 |
770 |
|
|
- สวนมะม่วง |
20 |
80 |
|
|
- สวนปาล์ม |
5 |
40 |
|
|
- สวนสัก |
82 |
680 |
|
|
- สวนส้มโอ |
15 |
30 |
|
|
- สวนมะขาม |
35 |
135 |
|
|
- สวนฝรั่ง |
1 |
2 |
|
3. |
ทำไร่ |
|
|
|
|
- ไร่ข้าวโพด |
753 |
11,963 |
|
|
- ไร่กระเทียม |
15 |
30 |
|
|
- ไร่ข้าวฟ่าง |
38 |
130 |
|
|
- ไร่มันสำปะหลัง |
17 |
240 |
|
4. |
อื่น ๆ |
|
|
|
|
- ปลูกผัก |
78 |
140 |
|
|
- ปลูกฟักทอง |
10 |
100 |
|
7.2 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
แหล่งน้ำ ทางการเกษตร |
ความเพียงพอของปริมาณน้ำฝนที่ใช้ในการทำการเกษตร |
หมายเหตุ |
||
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
|||
1. ปริมาณน้ำฝน |
- |
/ |
|
|
แหล่งน้ำ ทางการเกษตร |
ความเพียงพอของน้ำเพื่อการเกษตรตลอดทั้งปี |
การเข้าถึงแหล่งน้ำการเกษตร |
||
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
ทั่วถึง |
ไม่ทั่วถึง |
|
2. แหล่งน้ำธรรมชาติ |
||||
2.1 แม่น้ำ |
|
/ |
|
/ |
2.2 ห้วย/ลำธาร |
|
/ |
|
/ |
2.3 คลอง |
|
/ |
|
/ |
2.4 หนองน้ำ/บึง |
|
/ |
|
/ |
แหล่งน้ำ ทางการเกษตร |
ความเพียงพอของน้ำเพื่อการเกษตรตลอดทั้งปี |
การเข้าถึงแหล่งน้ำการเกษตร |
||
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
ทั่วถึง |
ไม่ทั่วถึง |
|
3. แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น |
||||
1. อ่างเก็บน้ำ |
|
/ |
|
/ |
2. ฝาย |
|
/ |
|
/ |
3. สระ |
|
/ |
|
/ |
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือนำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
แหล่งน้ำ
|
มี |
ทั่วถึงหรือไม่ |
||
เพียงพอ |
ไม่เพียงพอ |
ทั่วถึง |
ไม่ทั่วถึง |
|
1. บ่อบาดาลสาธารณะ |
|
/ |
|
/ |
2. บ่อน้ำตื้นสาธารณะ |
|
/ |
|
/ |
3. ประปาหมู่บ้าน (ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) |
|
/ |
|
/ |
7.4 ปัญหาและความต้องการในการทำการเกษตรของหมู่บ้าน/ชุมชน และโครงการ/แผนงานที่หมู่บ้าน/ชุมชน
ปัญหาที่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ประสบและมีผลกระทบต่อการทำการเกษตร |
ความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อส่งเสริมการทำการเกษตร |
โครงการ/แผนงานที่ประชาชนต้องการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ |
1. ถนนการเกษตรชำรุด |
1. ปรับปรุงซ่อมแซมถนนให้มีสภาพใช้งานที่ดี |
1. โครงการซ่อมแซมปรับปรุงถนนสู่พื้นที่ |
|
|
การเกษตร |
2. น้ำอุปโภค บริโภคไม่เพียงพอ |
1. มีแหล่งน้ำการเกษตรที่เพียงพอ |
1. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ |
|
|
2. โครงการก่อสร้าง/ซ่อมแซมสถานีสูบน้ำ |
|
|
3. โครงการก่อสร้างประปาหมู่บ้าน |
3.ราคาผลผลิตเศรษฐกิจตกต่ำ |
1. ต้องการให้มีมาตรการรองรับการประกัน |
1. โครงการประกันสินค้าการเกษตร |
|
ผลผลิต |
|
4. ปัญหาสิทธิ์ทำกินพื้นที่ไม่มีเอกสาร |
1. ต้องการมีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตาม |
1. แผนงานเสริมสร้างการจัดสรรที่ดิน |
สิทธิ์ |
กฎหมาย |
ให้กับเกษตรกร (เกสารสิทธิ์) |
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
สถาบันและองค์กรศาสนา
จำนวนวัด ๓ แห่ง
- วัดบ้านป่าแขม ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านมาง
- วัดบ้านทุ่งมอก ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านมาง
- วัดบ้านบ่อเบี้ย ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านมาง
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
๑. ประเพณีวันสงกรานต์ เดือนเมษายน มีกิจกรรมเป็นประเพณีรดน้ำดำหัวพ่อแม่,ปู่ยา,ตา,ยายและผู้มีพระคุณรวมทั้งการทำบุญตักบาตรสงฆ์น้ำพระพุทธรูปและพระภิกษุอีกทั้งเล่นน้ำสงกรานต์ประมาณ๕วัน
๒. ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประมาณเดือนกรกฎาคม มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรการทำบุญตักบาตรสงฆ์น้ำพระพุทธรูปและพระภิกษุและฟังเทศนาธรรม
๓. ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือนตุลาคม มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรการทำบุญตักบาตรสงฆ์น้ำพระพุทธรูปและพระภิกษุและฟังเทศนาธรรม
๔. ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือนพฤศจิกายน มีกิจกรรมทำบุญแล้วลอยกระทงมีการละเล่นต่างๆ
๕. ประเพณีตานก๋วยสลากภัตต์ ประมาณเดือนตุลาคม มีกิจกรรมทำก๋วยสลากไปถวายทานที่วัดต่างๆ
๖. ประเพณีบวงสรวงพระธาตุปูปอ บ้านหนองกลาง หมู่ที่ ๗ ต.บ้านมางเดือนพฤษภาคม (วันวิสาขบูชา)
๗. ประเพณีชนเผ่าเมี่ยน ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ (ตรุษจีน) มีกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีจีน (ไหว้บรรพบุรุษ)
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
๑. ทรัพยากรป่าไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้มะค่า ฯลฯ
๒. พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง เป็นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำยม ดินดี อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีแม่น้ำปี้ไหลจากตำบลเชียงม่วนสู่ตำบลบ้านมาง บางส่วน
๓. เป็นพื้นที่สูงมีภูเขาสลับกับพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์ด้วย ป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร น้ำตก และแหล่งศึกษาและค้นคว้าทางประวัติศาสตร์สำหรับสถานที่สำคัญของตำบล มีโบราณสถานที่สำคัญ เช่น พระธาตุภูปอ น้ำตกธารสวรรค์ ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบล
๔. มีอุทยานแห่งชาติดอยภูนางที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และสัตว์ป่าโดยเฉพาะ นกยูงยังคงมีอยู่จำนวนมาก
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำยม ๑ สาย
- ลำน้ำ,ลำห้วย ๒๐ สาย
- บึง,หนองและอื่น ๆ ๖๓ แห่ง
อื่น ๆ (สถานที่ท่องเที่ยว)
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกธารสวรรค์
ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง บ้านบ่อเบี้ย หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านมาง ทัศนียภาพร่มรื่น เสน่ห์ของน้ำตกธารสวรรค์อยู่ตรงที่มีน้ำใสเป็นสีเขียวมรกตสวยงามและไหลตลอดปีท่ามกลางบรรยากาศ แมกไม้ขนาดใหญ่เหมาะแก่การพักผ่อนศึกษาธรรมชาติ นอกจากนี้ในเขตอุทยานแห่งชาติยังเป็นแหล่งอาศัยของนกยูงนักท่องเที่ยวสามารถพักแรมได้ทั้งแบบกางเต้นท์นอน หรือพักบ้านพักอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ๒๔ กม.
วนอุทยานไดโนเสาร์แก่งหลวง
ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองกลาง หมู่ ๗ ต.บ้านมาง เป็นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สายพันธุ์ซอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่การประมาณอายุจากชั้นหินทรายแดงไม่น้อยกว่า ๑๓๐ ล้านปี และเป็นการค้นพบครั้งแรกในภาคเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ๘ กม.
แก่งหลวง
ตั้งอยู่เหนือแก่งเสือเต้นของแม่น้ำยมในพื้นที่บ้านหนองกลางหมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านมางเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและสามารถล่องแพ ล่องแก่ง ในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำจะลดลง เล็กน้อยสามารถเห็นโขดหินประติมากรรมธรรมชาติที่สวยงามอีกรูปแบบ หนึ่ง อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมางประมาณ ๗ กม.
จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )
พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง มีแหล่งก่อนประวัติศาสตร์โดยการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์โซโลพอด เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป